ประเพณีไทย Traditional Thailand

ประเพณีไทย ( traditional thailand ) การจัดหฺมฺรับ

ประเพณีไทย Author on วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย / ประเพณี
วัฒนธรรมประเพณีไทย  / วัฒนธรรมประเพณี
เนื้อหาประเพณีไทย จากบทความที่แล้วอย่าง สารทเดือนสิบ

ประเพณีไทย จากเนื้อหาบทความที่แล้วที่นำข้อมูลมาเขียนแบบบทสรุป
เพื่อให้เพื่อน ๆ น้อง ๆ ฯลฯ ได้อ่านเข้าใจกันได้ง่าย
ประเพณีไทยที่ได้ยกมาสรุปนั้นก็คือ สารทเดือนสิบ 
แต่ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงเนื้อหาของ การจัดหฺมฺรับ 
ที่เป็นพิธีกรรมสำคัญใช้ร่วมกันกับ สารทเดือนสิบ

เนื้อหาของพิธีกรรมก็จะมีรายละเอียดดังนี้
เมื่อวันที่กำหนดมาถึงอย่าง ๑๔ ค่ำ เดือน ๑o ซึ่ง ประเพณีไทย หรือ วัฒนธรรมไทย
ท้องถิ่นจะเรียกกันว่า "วันหลองหฺมฺรับ"  พิธีกรรมนี้
ในแต่ละวงศ์ตระกูลหรือแต่ละครอบครัวก็จะร่วมมือร่วมใจ
นำข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อที่จะมาจัดเป็นหฺมฺรับ / หมะหรับ 
สำหรับการในจัดหุมุรับนั้นจะจัดเป็นรูปแบบใดก็ได้ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว
แต่ว่าสิ่งของที่นำมาเรียงลำดับการจัดหุมุรับนั้นจะเรียงลำดับเหมือน ๆ กัน
การจัดสิ่งของสำคัญในการจัดหุมุรับก็ คือ เริ่มจากนำกระบุง
กระจาด ถาด หรือ กะละมัง ที่จะใช้นำมาเป็นวัสดุใส่สิ่งของ
จากนั้นลองพื้นด้วยข้าวสาร แล้วขั้นตอนต่อไปก็ตามด้วยสิ่งของตามนี้ครับ
หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล นอกจากนี้ยังจะต้องเตรียม
อย่างพวกเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นอย่างเช่น น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ


ในส่วนต่อไปก็จะต้องเตรียมอาหารแห้งอย่าง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม และ ที่ขาดไม่ได้
ผักผลไม้ พวกผักผลไม้ต่าง ๆ ที่นำมานั้นจะต้องสามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ 
อย่างเช่น มะพร้าว ขมิ้น มัน ลางสาด เงาะ ลองกอง  ฯลฯ 
สิ่งของต่อมาทีจำเป็นในพิธีกรรม ประเพณีไทย  นี้ก็คือ 
ของใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไม้ขีด หม้อ กระทะ ฯลฯ
และพวกเครื่องเซี่ยนหมาก ในสิ่งของสุดท้ายที่จำเป็นอีกอย่างในการจัดหุมุรับ
ก็ คือ ขนม ๕ อย่าง ( หลากหลายคนบ้างก็บอกว่า ๖ บ้างหล่ะ ๕ บ้างหล่ะ ) 
ขนมที่จะนำมาใช้ประกอบ ประเพณีไทย ในพิธีกรรมนี้ก็มีความหมายในตัวของมันเอง
แต่ละชนิดก็มีข้อดีของมันในตัวอยู่แล้ว ขนมที่จะนำมาใช้ในพิธีกรรมนี้ก็มี ขนมพอง
เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ที่ล่วงลับจากไปแล้วเพื่อที่ใช้
ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา แทน เครื่องใช้นุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกง หรือว่า ขนมไข่ปลา
เพื่อที่จะแทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยที่สำหรับใช้สอยต่าง ๆ
ขนมบ้า เพื่อแทนสะบ้าใช้เล่น เมื่อในกรณีที่มีขนม ๖ อย่าง ก็จะมีขนมลาลอยมัน
เพื่อใช้แทนฟูกหมอน เข้าไปด้วย ในการยกหุมุรับ 
จะต้องมีในวันที่ วันแรม ๑๕ ค่ำ  เดือน ๑o ซึ่งจะเป็นวัน ยกหุมุรับ 
ใน ประเพณีไทย พิธีกรรมนี้ ชาวบ้านต่างก็จะนำหุมุรับพร้อมภัตตาหารไปยังที่วัด
โดยที่ชาวบ้านแต่ละคนนั้นจะพากันแต่งตัวกันอย่างสวยงาม และ ให้ดูสะอาดที่สุด
เพราะว่าพิธีกรรมนี้เป็นการทำบุญครั้งสำคัญ ส่วนมากชาวบ้านก็จะไปวัดที่ใกล้บ้าน
ที่ตนสามารถเดินทางได้สะดวก หรือ ว่าจะเป็นวัดที่ตนนั้นนับถือและมีความศัรทธา
ประเพณีไทย นี้การยกหุมุรับไปวัดนั้นอาจจะต่างครอบครัวหรือชาวบ้านบริเวณ
ที่มีการจัดพิธีกรรมก็จะพากันจัดขบวนเพื่อที่จะแห่กันไปวัดเพื่อที่ว่า
ให้ขบวนที่ยกหุมุรับที่แห่ไปวัดนั้นมีความสนุกสนามรื่นเริง
ในบางวัดก็จะมีการจัดกิจกรรมในพิธีกรรมที่เรียกว่า หุมุรับ
ในกิจกรรมที่บางวัดจัดขึ้นนั้นก็คือการจัดประกวด หุมุรับ 
แต่ว่าในจังหวัดอย่างนครศรีธรรมราชนั้นได้
สืบทอด ประเพณีไทย หรือ เรียกวัฒนธรรมก็ว่าได้
เพราะว่้าในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการจัดขบวนแห่หุมุรับ
อย่างยิ่งใหญ่ตระการตาของใน เดือน ๑o ของทุก ๆ ปี
โดยที่มี องค์กร และ ภาครัฐ หรือ ว่าจะเป็น เอกชนองค์กรต่าง 
ก็ให้ความสำคัญ และ ส่งหุมุรับของตนเข้าร่วมประกวด
ในขบวนแห่หุมุรับ ซึ่ง ประเพณีไทย ใน เทศกาล หรือ จะเรียกเป็นวัฒนธรรมก็ได้
ในงานขบวนแห่หุมุรับนี้จึงทำให้จังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็นที่ดึงดูดจูงใจนักท่องเที่ยวต่างหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยว จังหวัดนครศรีธรรมราช
มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในเทศกาลของงาน ประเพณีไทย อย่าง งานแห่ขบวนหุมุรับ
เมื่อขบวนที่ชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราชแห่มาถึงวัดแล้วก็จะร่วมใจกันถวายภัตตาหาร
ให้กับเหล่่าภิกษุสงฆ์ พอหลังจากนั้นก็จะร่วมกัน "ตั้งเปรต" เพื่อที่จะทำการแผ่ส่วนบุญ
ส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อในสมัยก่อนพิธีกรรมนี้จะ "ตั้งเปรต" บริเวณโคนต้นไม้
หรือ ในบริเวณกำแพงวัด แต่ ณ. ปัจจุบันนี้จะนิยมตั้งกันบน "หลาเปรต"
อาหารที่จะใช้ในการตั้งนั้นจะเป็นขนมทั้ง ๕ หรือ ๖ อย่าง ( ที่หลายคนบอกว่ามี ๕ บ้างละ ๖ บ้างละ )
เมื่ออาหารหรือขนมที่ได้จัดเตรียมจากข้างต้น และ รวมถึงอาหารที่บรรพชนชอบรับประทาน
เมื่อทำการ "ตั้งเปรต" เสร็จแล้ว พระสงฆ์ ก็จะทำการสวดมนต์ในบท สวดบังสุกุล
โดยใช้วิธีจับสายสิญจน์ที่ใช้ผู้ไว้กับหลาเปรตใน ประเพณีไทย นี้เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น
ผู้คนก็จะร่วมกัน "ชิงเปรต" ในการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต ทั้งนี้เพื่อความสนุกสนาน
และ ประเพณีไทย พิธีกรรมนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าถ้าหากใครได้รับประทาน
อาหารบน "หลาเปรต" ก็จะได้รับกุศลแรง เพื่อที่จะเป็นศิริมงคลให้กับตนเอง
และ ครอบครัว เมื่อเสร็จสิ้น ประเพณีไทย ในพิธีกรรมการชิงเปรต
ผู้คนต่างก็พากันแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยที่อิ่มใจและ
อิ่มบุญใน ประเพณีไทย พิธีกรรม ชิงเปรต นี้

ในเนื้อหานี้เมื่อเพื่อน ๆ น้อง ๆ ฯลฯ เข้ามาอ่านแล้วหวังว่าจะเข้าใจกันนะครับกับ
ประเพณีไทย   ทั้ง 3 พิธีกรรมนี้ สารทเดือนสิบ / ประเพณีชิงเปรต / การจัดหฺมฺรับ